อาชีพพยาบาล
พยาบาล
เป็นวิชาชีพที่ทำหน้าที่ดูแลผู้ป่วย มักจะสวมชุดพยาบาลสีขาวและสวมหมวกที่มีลักษณะเฉพาะตัว พยาบาลพบได้ทั่วไปทำงานตามโรงพยาบาล คลินิก หรือสถานพยาบาลอื่นๆ พยาบาลเป็นวิชาชีพที่ก่อนจะปฏิบัติงานจต้องผ่านการสอบขึ้นทะเบียนความรู้จาก สภาการพยาบาลก่อนจึงจะสามารถปฏิบัติงานได้อย่างสมบูรณ์ โดยพยาบาลสามารถที่จะดูแลผู้ป่วยได้ตามหลักการพยาบาลที่ได้เรียนมา เป็นเวลา 4 ปีสำหรับพยาบาลวิชาชีพ และสถาบันที่เปิดสอนหลักสูตรพยาบาลมีมากมายในประเทศไทยทั้งที่สังกัดกระทรวง สาธารณสุขและเอกชน
นิยามอาชีพ
ผู้ปฏิบัติอาชีพพยาบาล ทำหน้าที่ให้การรักษาพยาบาล และดูแลผู้ป่วยทั้งทางกายและจิต ผู้ได้รับบาดเจ็บ หรือทุพพลภาพ รักษาและป้องกันโรค และการส่งเสริมสุขภาพ วางแผนและให้บริการด้านพยาบาล และทำหน้าที่ช่วยแพทย์ ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาล
ลักษณะของงานที่ทำ
รักษา ดูแล และให้คำแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาล เป็นผู้ช่วยแพทย์ โดยการสังเกต และบันทึกความเปลี่ยนแปลงในคนไข้ รายงานให้แพทย์ทราบถึงอาการของคนไข้ตามลักษณะโรคที่เป็นทั้งร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ช่วยฟื้นฟูสุขภาพของคนไข้ ช่วยคนไข้ให้ปรับตัวเข้ากับภาวะขัดข้องใดๆ ที่อาจเกิด จากการเจ็บป่วย จัดให้คนไข้ มีสิ่งแวดล้อมที่ถูกสุขอนามัย ป้องกันและควบคุมการเผยแพร่ของโรคติดเชื้อ สอนคนไข้ และประชาชนทั่วไปให้รู้จักการดูแลและส่งเสริมสุขภาพวางแผน มอบหมาย สั่งการ ดูแล และประเมินผลงานของผู้ช่วยพยาบาล และผู้ทำหน้าที่ประสานงาน ร่วมงานกับเจ้าหน้าที่ฝ่ายการแพทย์ และอนามัยแขนงอื่นๆ ในการบริการคนไข้
สภาพการจ้างงาน
สำหรับหน่วยงานราชการพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี ได้รับเงินเดือนอัตรา6,360 บาท ส่วนพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทได้รับเงินเดือนอัตรา 7,780 บาท และปริญญาเอกได้รับเงินเดือนอัตรา 10,600 บาท
ในหน่วยงานรัฐวิสาหกิจผู้ที่มีการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้ รับเงินเดือนประมาณ 7,000 -7,600 บาท
สำหรับหน่วยงานเอกชน พยาบาลที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจะได้รับเงินเดือนขั้นต้นประมาณ 13,900 บาท ค่าอยู่เวร เวรละ 250 บาท ซึ่งจะมีรายได้เฉลี่ยจากค่าอยู่เวรประมาณเดือนละ 2,500 - 3,000 บาท ซึ่งพยาบาลเอกชนจะมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 16,000 บาทมีสวัสดิการที่พักและสิทธิพิเศษ อื่นๆ ตามเงื่อนไขการตกลงกับผู้ว่าจ้าง ผู้ปฏิบัติงานอาชีพพยาบาลโดยปกติทำงานวันละ 8 - 9 ชั่วโมง และมีการเข้าเวรทำงานตามที่กำหนดเป็นระเบียบปฏิบัติ นอกจากนี้ พยาบาลที่ออกเวรแล้วสามารถหารายได้พิเศษในการรับจ้างเฝ้าไข้ ให้กับคนไข้อีกด้วย
สภาพการทำงาน
ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน สถานพยาบาล(คลีนิค) สถานพักฟื้น สถานฟื้นฟู ดูแลรักษาสุขภาพ สถานสงเคราะห์ เด็ก หรือคนชรา สถานอนุบาลเด็กทารกหรือเด็กก่อนวัยเรียน สถานการศึกษา เช่น โรงเรียน วิทยาลัย และมหาวิทยาลัย สถานที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรม สถานีอนามัย/คลีนิคในชุมชนพยาบาลประจำบ้าน หรือส่วนบุคคล เป็นต้น
คุณสมบัติของผู้ประกอบอาชีพ
ผู้ประกอบอาชีพนี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สำเร็จการศึกษา พยาบาลศาสตร์ต่อเนื่อง หรือพยาบาลศาสตร์
2. มีสุขภาพสมบูรณ์ ทั้งร่างกายและจิตใจ ไม่พิการหรือทุพพลภาพ ปราศจากโรค (อันเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติงาน)
3. มีจิตใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ไม่รังเกียจผู้เจ็บป่วย มีความเมตตา และมีความรักในเพื่อนมนุษย์มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
4. มีความอดทน อดกลั้น และมีความกล้าในการตัดสินใจ
5. มีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน
6. มีความเสียสละที่จะเดินทางไปรักษาพยาบาลผู้คนในชุมชนทั่วประเทศ
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนี้ ควรเตรียมความพร้อมดังต่อไปนี้
เมื่อสำเร็จการศึกษาในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนต้น จะต้องเลือกเรียน/ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (สายวิทยาศาสตร์) จากนั้นจึงจะทำการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในสาขาวิชาพยาบาลของมหาวิทยาลัย ต่างๆ ที่สังกัดทบวงมหาวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัยเอกชน ทั้งนี้การศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจะต้องมีผลการเรียนวิชาฟิสิกส์ เคมีชีววิทยา ค่อนข้างดีด้วย
เครื่องแบบเมื่อสำเร็จการศึกษา
เมื่อพยาบาลสำเร็จการศึกษาจะมีเครื่องแบบแตกต่างกันตามสถาบัน ซึ่งแบ่งออกเป็น 3ลักษณะคือ
ครุยปริญญา
สวมครุยปริญญาของสถาบันที่สำเร็จการศึกษา
ชุดขาวปกติแขนยาว ติดช่อดอกไม้ที่หน้าอก
ดังเช่น ของกระทรวงสาธารณสุข นางสาวมณี สหัสสานนท์ เป็นผู้นำมาใช้เพื่อระลึกถึงความเป็นเพื่อนร่วมรุ่นและความสามัคคี มีเรื่องเล่าว่า มีพยาบาลรุ่นหนึ่งเมื่อจบการศึกษาแล้วต้องการรวมรุ่นทุกคน พยาบาลผู้หนึ่งในรุ่นนั้นได้รับอุบัติเหตุ ก่อนเสียชีวิตได้สั่งสามีให้นำช่อดอกไม้มามอบแก่เพื่อนที่มาชุมนุมเป็น สัญญลักษณ์แห่งความรักและความสามัคคีของหมู่พยาบาล นับแต่นั้นจึงใช้ดอกไม้ติดปกเสื้อในวันสำเร็จการศึกษา ทั้งนี้เพื่อให้หมายถึงความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน (Unity) ปกติใช้สำหรับผู้จบการศึกษาในหลักสูตรต่อเนื่อง เช่น ครูพยาบาล ต่อมานำมาใช้สำหรับหลักสูตรผู้ช่วยพยาบาลและผดุงครรภ์ด้วย
ชุดปกติขาวสวมเสื้อคลุม
ซึ่งพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์และผดุงครรภ์ สังกัดกองงานวิทยาลัยพยาบาล กระทรวงสาธารณสุข จะสวมเสื้อคลุม (cape) ในวันรับประกาศนียบัตร เสื้อคลุมทำด้วยผ้าสักหลาด ด้านนอกสีน้ำเงิน ด้านในสีแดงสด เสื้อผ่าด้านหน้าเปิดพับชายด้านซ้ายไว้ที่ไหล่ซ้าย นางสาวมณี สหัสสานนท์ อาจารย์ผู้ปกครอง เป็นผู้นำมาใช้เมื่อก่อตั้งโรงเรียนเป็นครั้งแร พ.ศ. 2492 และได้ถือเป็นประเพณีนิยมกันมาถึงทุกวันนี้ เสื้อคลุมเป็นสัญลักษณ์ของการทำความดี การเสียสละ และอุทิศตนเพื่อความสุขของผู้อื่น ปรากฏเรื่องในพระคัมภีร์ไบเบิลฉบับพันธสัญญาเดิม ในหนังสือ 1 พงศาวดารกษัตริย์ บทที่ 19 ข้อ 19 และ 2 พงศาวดารกษัตริย์บทที่ 2 ข้อ 8-12 กล่าวว่าชายคนหนึ่งชื่ออิลิจา (Dlijah) ใส่เสื้อคลุมไม่มีแขนทำด้วยหนังแพะ ประกอบแต่กิจกรรมต่างๆ ที่นำความสุขมาสู่เพื่อนมนุษย์และใช้เป็นเครื่องมือรักษาพยาบาลแก่ผู้ป่วย ไข้ เมื่ออิลิจาสิ้นชีวิตลง แอลลิซ่า (Elisha) เพื่อนซึ่งมีความศรัทธาในการทำงานอันเป็นบุญกุศลของอิลิจา จึงได้รับช่วงเสื้อคลุมและปฏิบัติตนเช่นเดียวกับอิลิจาสมดังเจตนาของพระเจ้า นางสาวมณี สหัสสานนท์ จึงนำเสื้อคลุมมาใช้ในความหมายดังกล่าว ผู้สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษาพยาบาลบางแห่ง นอกจากกระทรวงสาธารณสุขก็นำเสื้อคลุมไปใช้ด้วยเช่นกัน
จรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาล
การพยาบาลเป็นการปฏิบัติโดยตรงต่อบุคคล ครอบครัว ชุมชนและสังคม นับได้ว่าเป็นบริการในระดับสถาบันของสังคม ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพพยาบาลจึงต้องเป็นผู้ที่มีความรับผิดชอบสูง เป็นผู้ที่ไว้วางใจได้ มีความรู้ความชำนาญในการปฏิบัติ มีจริยธรรม และจรรยาบรรณวิชาชีพ เป็นแนวทางในการประพฤติและปฏิบัติ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัยของสังคมโดยส่วนรวม
จรรยาบรรณวิชาชีพสำหรับพยาบาลเป็นการประมวลหลักความประพฤติ ให้บุคคลในวิชาชีพยึดถือปฏิบัติ สมาคมพยาบาลแห่งสหรัฐอเมริกา (The America Nurses Associations A.N.A.) ได้กำหนดสาระสำคัญของจรรยาบรรณวิชาชีพพยาบาลไว้ดังนี้
1. พยาบาลพึงให้บริการพยาบาลด้วยความเคารพในศักดิ์ศรี และความแตกต่างระหว่างบุคคล โดยไม่จำกัด ในเรื่อง สถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ คุณสมบัติเฉพาะกิจหรือสภาพปัญหาทางด้านสุขภาพอนามัยของผู้ป่วย
2. พยาบาลพึงเคารพสิทธิส่วนตัวของผู้ป่วยโดยรักษาข้อมูลเกี่ยวกับผู้ป่วยไว้ เป็นความลับ
3. พยาบาลพึงให้การปกป้องคุ้มครองแก่ผู้ป่วย สังคม ในกรณีที่มีการให้บริการสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยถูกกระทำการที่อาจเกิด จากความไม่รู้ ขาดศีลธรรม จริยธรรม หรือการกระทำที่ผิดกฎหมายจากบุคคลหนึ่งบุคคลใด
4. พยาบาลมีหน้าที่รับผิดชอบในการตัดสินใจและให้การพยาบาลแก่ผู้ป่วยแต่ละราย
5. พยาบาลพึงดำรงไว้ซึ่งสมรรถนะในการปฏิบัติการพยาบาล
6. พยาบาลพึงตัดสินใจด้วยความรอบคอบถี่ถ้วน ใช้ข้อมูลสมรรถนะและคุณสมบัติอื่นๆ เป็นหลักในการขอคำปรึกษาหารือยอมรับในหน้าที่ความรับผิดชอบ รวมถึง การมอบหมายกิจกรรมการปฏิบัติการพยาบาลให้ผู้อื่นปฏิบัติ
7. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในกิจกรรมการพัฒนาความรู้เชิงวิชาชีพ
8. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมและสนับสนุนในการพัฒนาวิชาชีพและส่งเสริมมาตรฐานการ ปฏิบัติการพยาบาล
9. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการที่จะกำหนดและดำรงไว้ซึ่งสถานะภาพของการทำงานที่จะ นำไปสู่การปฏิบัติการพยาบาลที่มีคุณภาพสูง
10. พยาบาลพึงมีส่วนร่วมในการปกป้อง คุ้มครอง สังคม จากการเสนอข้อมูลที่ผิด และดำรงไว้ซึ่งความสามัคคีในวิชาชีพ
11. พยาบาลพึงร่วมมือและเป็นเครือข่ายกับสมาชิกด้านสุขภาพอนามัยและบุคคลอื่นๆใน สังคมเพื่อส่งเสริมชุมชนและสนองตอบความต้องการด้านสุขภาพอนามัยของสังคม สำหรับสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย ได้กำหนดจรรยาบรรณวิชาชีพของสมาคม พ.ศ. 2528 มุ่งเน้นให้พยาบาลได้ประพฤติปฏิบัติหน้าที่ความรับผิดชอบ โดยกำหนดเป็นความรับผิดชอบต่อประชาชน
ความรับผิดชอบต่อประเทศชาติ ต่อผู้ร่วมวิชาชีพและต่อตนเองดังนี้
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อประชาชน
1. ประกอบวิชาชีพด้วยความมีสติ ตระหนักในคุณค่าและศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์
2. ปฏิบัติต่อประชาชนด้วยความเสมอภาคตามสิทธิมนุษยชน โดยไม่คำนึงถึง เชื้อชาติ ศาสนา และสถานภาพของบุคคล
3. ละเว้นการปฏิบัติที่มีอคติ และการใช้อำนาจหน้าที่เพื่อผลประโยชน์ส่วนตน
4. พึงเก็บรักษาเรื่องส่วนตัวของผู้รับบริการไว้เป็นความลับ เว้นแต่ด้วยความยินยอมของผู้นั้นหรือเมื่อต้องปฏิบัติตามกฎหมาย
5. พึงปฏิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้ความสามารถอย่างเต็มที่ในการวินิจฉัยและการ แก้ไขปัญหาสุขภาพอนามัยอย่างเหมาะสมแก่สภาพของบุคคล ครอบครัว และชุมชน
6. พึงป้องกันภยันตรายอันจะมีผลต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อสังคมและประเทศชาติ
1. พึงประกอบกิจแห่งวิชาชีพให้สอดคล้องกับนโยบายอันยังประโยชน์แก่สาธารณชน
2. พึงรับผิดชอบร่วมกับประชาชนในการริเริ่ม สนับสนุนกิจกรรมที่ก่อให้เกิดสันติสุข และยกระดับคุณภาพชีวิต
3. พึงอนุรักษ์และส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมประจำชาติ
4. พึงประกอบวิชาชีพโดยมุ่งส่งเสริมความมั่นคงของชาติ ศาสนา และสถาบันกษัตริย์
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อวิชาชีพ
1. พึงตระหนักและถือปฏิบัติในหน้าที่ความรับผิดชอบตามหลักการแห่งวิชาชีพการ พยาบาล
2. พัฒนาความรู้และวิธีปฏิบัติให้ได้มาตรฐานแห่งวิชาชีพ
3. พึงศรัทธาสนับสนุนและให้ความร่วมมือในกิจกรรมแห่งวิชาชีพ
4. พึงสร้างและธำรงไว้ซึ่งสิทธิอันชอบธรรม ในการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
5. พึงเผยแพร่ชื่อเสียงและคุณค่าแห่งวิชาชีพให้เป็นที่ปรากฏแก่สังคม
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อผู้ร่วมวิชาชีพและ ผู้ประกอบวิชาชีพอื่น
1. ให้เกียรติ เคารพในสิทธิและหน้าที่ของผู้ร่วมวิชาชีพและผู้อื่น
2. เห็นคุณค่าและยกย่องผู้มีความรู้ ความสามารถในศาสตร์สาขาต่างๆ
3. พึงรักษาไว้ซึ่งความสัมพันธ์อันดี กับผู้ร่วมงานทั้งภายในและภายนอกวิชาชีพ
4. ยอมรับความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ และชักนำให้ประพฤติปฏิบัติในทางที่ถูกที่ควร
5. พึงอำนวยความสะดวกและให้ความร่วมมือแก่ผู้ร่วมงานในการปฏิบัติภารกิจอันชอบ ธรรม
6. ละเว้นการส่งเสริมหรือปกป้องผู้ประพฤติผิด เพื่อผลประโยชน์แห่งตนหรือผู้กระทำการนั้นๆ
จรรยาบรรณวิชาชีพการพยาบาลต่อตนเอง
1. ประพฤติตนและประกอบกิจแห่งวิชาชีพ โดยถูกต้องตามกฎหมาย
2. ยึดมั่นในคุณธรรมและจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
3. ประพฤติปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างที่ดี ทั้งในด้านการประกอบกิจแห่งวิชาชีพและส่วนตัว
4. ใฝ่รู้พัฒนาแนวคิดให้กว้าง และยอมรับการเปลี่ยนแปลง
5. ประกอบกิจแห่งวิชาชีพด้วยความเต็มใจ และเต็มกำลังความสามารถ
6. ปฏิบัติหน้าที่ด้วยความมีสติ รอบรู้ เชื่อมั่นและมีวิจารณญาณอันรอบคอบ
โอกาสในการมีงานทำ
ปัจจุบัน ประเทศไทยมีประชากรมากกว่า 62 ล้านคน ความต้องการพยาบาลเพื่อทำการรักษาพยาบาลต้องเพิ่มขึ้นตามการเพิ่มขึ้นของ ประชากรประกอบกับรัฐบาล และกระทรวงสาธารณสุขได้ให้ความสนใจในสุขภาพของประชาชนทุกเพศทุกวัยได้พยายาม ขยายบริการออกไปให้ทั่วถึง จึงจำเป็นต้องใช้พยาบาลในการปฏิบัติงานเป็นจำนวนมาก
อีกทั้งโรงพยาบาลและสถานพยาบาลของภาคเอกชนได้ขยายตัว มากขึ้น เพื่อบริการประชาชน และหน่วยงานอื่นๆ เช่น สถานประกอบการอุตสาหกรรม สำนักงานประกันภัย บริษัทขายยาและเคมีภัณฑ์ บริษัทขายเครื่องมือแพทย์ ต้องการพยาบาลไปดูแลรักษาพยาบาล หรือให้ คำปรึกษาแนะนำด้านสุขภาพอนามัยแก่พนักงานในสถานประกอบการ หรือให้คำปรึกษาแนะนำ ในการประกอบธุรกิจ นอกจากนี้ ผู้สำเร็จการศึกษาวิชาชีพพยาบาลสามารถไปประกอบวิชาชีพส่วนตัวได้ เช่น เปิดสถานดูแลเด็กอ่อน เด็กเล็กก่อนวัยเรียนผู้สูงอายุ หรือรับจ้างปฏิบัติงานเลี้ยงเด็กหรือดูแล ผู้สูงอายุ เป็นต้น ดังนั้น แนวโน้มของโอกาสในการมีงานทำของอาชีพนี้ ยังคงมีอยู่ค่อนข้างสูง จึงสามารถหางานทำได้ ไม่ยากนัก
โอกาสความก้าวหน้าในอาชีพ
ผู้ปฏิบัติหน้าที่ เป็นข้าราชการ ในโรงพยาบาล สังกัดกระทรวงสาธารณสุข และในสังกัดกระทรวงกลาโหม ได้รับตำแหน่ง และเลื่อนขั้นยศตามขั้นตอนของระบบราชการ การศึกษาต่อเพิ่มเติมจะช่วยให้ เลื่อนขั้นเลื่อนตำแหน่งได้รวดเร็วขึ้นและสามารถเป็นถึงผู้บริหารสูงสุดของ หน่วยงานได้ ในรัฐวิสาหกิจก็เช่นเดียวกัน ส่วนในโรงพยาบาลภาคเอกชนนั้นขึ้นอยู่กับโครงสร้างการบริหารงานขององค์กรหรือ สามารถทำธุรกิจส่วนตัวได้ คือเป็นเจ้าของสถานพยาบาล สถานดูแลเด็กอ่อน เด็กก่อนวัยเรียน และผู้สูงอายุ หรือศึกษาต่อเพิ่มเติมจนถึงระดับปริญญาเอก
อาชีพที่เกี่ยวเนื่อง
ธุรกิจประกันชีวิต นักวิจัยให้กับหน่วยงานต่างๆ ทั้งในประเทศ และองค์กรระหว่างประเทศ เช่น International HIV/AIDS Research Project เจ้าหน้าที่พยาบาลหรือที่ปรึกษาในองค์การระหว่างประเทศ องค์กรพัฒนาเอกชน หรือเป็นเจ้าหน้าที่แนะนำ Product Specialist ให้บริษัทขายยา และเคมีภัณฑ์ เป็นต้น
รายชื่อสถาบันอุดมศึกษาในประเทศไทยที่เปิดสอนวิชาพยาบาลศาสตร์
สถาบันอุดมศึกษารัฐบาล
* คณะพยาบาลศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (เปิดสอนในระดับปริญญาโทและปริญญาเอก)
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
* สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร พะเยา
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครพนม มหาวิทยาลัยนครพนม
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* ภาควิชาพยาบาลศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล
* วิทยาลัยนานาชาติ สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
* สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี
* สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต
* วิทยาลัยพยาบาลและสุขภาพ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
* วิทยาลัยพยาบาลพระยาภักดีชุมพล มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ
* สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
* สำนักวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
* สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช (เปิดสอนเฉพาะหลักสูตร 2 ปีต่อเนื่อง)
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี (สภาพยาบาล รับรองหลักสูตรแล้ว)
วิทยาลัยพยาบาลสังกัดหน่วยงานอื่น
* วิทยาลัยพยาบาลสภากาชาดไทย
* วิทยาลัยพยาบาลเกื้อการุณย์
* วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก
* วิทยาลัยพยาบาลกองทัพเรือ
* วิทยาลัยพยาบาลทหารอากาศ
* วิทยาลัยพยาบาลตำรวจ
วิทยาลัยพยาบาลสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นพรัตน์วชิระ
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี จังหวัดนนทบุรี
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ชัยนาท
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สระบุรี
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พระพุทธบาท
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ราชบุรี
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี จักรีรัช
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สุพรรณบุรี
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี เชียงใหม่
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครลำปาง
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พะเยา
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี พุทธชินราช
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สวรรค์ประชารักษ์ นครสวรรค์
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุตรดิตถ์
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ขอนแก่น
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี อุดรธานี
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี นครราชสีมา
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราช ชนนี สรรพสิทธิประสงค์
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี สงขลา
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี นครศรีธรรมราช
* วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี สุราษฎร์ธานี
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ตรัง
* วิทยาลัย พยาบาลบรมราชชนนี ยะลา
* วิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี
* วิทยาลัย พยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี
* วิทยาลัย พยาบาลศรีมหาสารคาม
สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยคริสเตียน
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี
* คณะพยาบาลศาสตร์แมคคอร์มิค มหาวิทยาลัยพายัพ
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี วิทยาเขตอุดรธานี
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยวงษ์ชวลิตกุล
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยเวสเทิร์น
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
* คณะ พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (หลักสูตรนานาชาติ)
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
* คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี
* คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเฉลิมกาญจนา
* คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเชียงราย
* คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์หลุยส์
* คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยเซนต์เทเรซา-อินติ (หลักสูตรนานาชาติ)
* คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยนครราชสีมา
* คณะพยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตบริหารธุรกิจ
* คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย
* คณะ พยาบาลศาสตร์ วิทยาลัยมิชชั่น
สาขา ของการพยาบาล
* การพยาบาลเด็ก (pediatric nursing)
* การพยาบาลมารดา และทารก (mother and child health)
* การพยาบาล ศัลยศาสตร์ (surgery care)
* การพยาบาล อายุรศาสตร์ (medical caring)
* การพยาบาลจิตเวช (psychiatric care)
* การพยาบาลชุมชน (community care)
* การพยาบาล สูติศาสตร์ (obstiatic care)
* เวชปฏิบัติการ พยาบาล
* การพยาบาล วิกฤติและฉุกเฉิน (emergency and crisis care)
* การพยาบาลระยะ สุดท้าย (hospice care)
* การบริหารการ พยาบาล (nursing administration)
การทำงานต่างประเทศ
วิธีสมัครสอบ NCLEX
เมื่อผู้สมัครผ่านการตรวจ สอบคุณสมบัติจากBoard of Registered Nursing แล้ว ก็จะได้รับจดหมายแจ้ง(Eligible)และแพ็คเกจคู่มือ,ใบสมัครสอบNCLEX ขั้นตอนต่อไปก็คือ ลงทะเบียนสอบกับ Pearson VUE ซึ่งเป็นบริษัทจัดสอบNCLEX และทำหน้าที่รายงานผลสอบไปที่Boardโดยตรง สำหรับคนที่มีหมายเลข SSN จะสามารถดูผลสอบได้ภายในไม่กี่วันหลังสอบ แต่สำหรับคนที่อยู่เมืองไทยต้องรอประมาณ 4 สัปดาห์ ถ้าได้รับซองจดหมายบาง ๆ ก็รู้ได้เลยว่า สอบผ่าน ในซองจะมีแบบฟอร์มสำหรับแจ้งหมายเลข SSN แต่ถ้าสอบไม่ผ่าน ก็จะได้รับซองใหญ่หนาปึ้ก ในนั้นก็จะมีการวิเคราะห์ผลสอบให้เรารู้ด้วยว่า เรายังอ่อนที่จุดไหน จะได้แก้ไขก่อนลงทะเบียนสอบครั้งต่อไป ดาวน์โหลดคู่มือสมัครสอบ NCLEX จากลิงค์นี้ค่ะ ค่าสมัครสอบ $200 สำหรับคนที่ต้องการสอบนอกประเทศอเมริกา(United States includes American Samoa, Guam, Northern Mariana Islands, and the Virgin Islands) ต้องจ่ายเพิ่มอีก $150
ขั้นตอนการสมัครสอบ มีดังนี้ ปรินท์ใบสมัคร ออกมาลองกรอกดูก่อน ในแพ็คเกจมีตัวอย่างการกรอกใบสมัครให้ดู เมื่อตรวจสอบข้อมูลเรียบร้อยแล้ว อาจเลือกใช้วิธีลงทะเบียนทางอินเตอร์เนตหรือทางโทรศัพท์ (สำหรับคนที่มีบัตรเครดิต) ส่วนคนที่ไม่มีบัตรเครดิต สามารถส่งใบสมัครพร้อมกับMoney Order หรือ Cashier Check
การกรอกใบสมัคร
1. เลือกประเภทการสอบที่ต้องการ: ทำเครื่องหมายที่ช่อง NCLEX-RN
2. Name กรอกชื่อผู้สมัคร ต้องตรวจสอบตัวสะกดให้ตรงกับพาสปอร์ต เรียงลำดับ นามสกุล, ชื่อ, ชื่อกลาง (ถ้ามี) หากมีการเปลี่ยนชื่อสกุลหลังจากที่ลงทะเบียนสอบและได้จดหมาย Eligible แล้ว ผู้สมัครจะต้องแจ้งขอเปลี่ยนชื่อสกุลไปที่Board และโทรไปที่ Pearson Call Center เพื่อขอใบ ATT(Authorization To Test) ใหม่
3. Mother’s maiden name : กรอกนามสกุลเดิมที่แม่ใช้ก่อนแต่งงาน
4. Your date of birth : ทำเครื่องหมายวงกลมรอบเดือนเกิด และกรอกวัน,ปีลงในช่อง
5. U.S. Social Security Number : กรอกหมายเลขประกันสังคม (คนที่อยู่เมืองไทยจะยังไม่มีหมายเลขนี้ ไม่ต้องกรอกอะไรค่ะ)
6. Ethnic Information : เชื้อชาติ
7. Sex : ระบุเพศ
8. Telephone Number (Home/Mobile) กรอกหมายเลขโทรศัพท์
9. Telephone Number (Work)
10. E-Mail Address กรอกอีเมล์แอดเดรส (ถ้ามี) ซึ่ง Pearson จะส่งเอกสารทุกอย่างไปให้ผู้สมัครทางอีเมล์ ถ้าผู้สมัครไม่กรอกอีเมล์ Pearson จะส่งเอกสารไปให้ทางไปรษณีย์
11. Your Maiden Name ผู้สมัครที่แต่งงานแล้ว ให้กรอกนามสกุลเดิมก่อนแต่งงาน
12. Another Last Name You Have Used กรอกนามสกุลอื่นที่เคยใช้ (กรณีที่เคยเปลี่ยนนามสกุลมาก่อน)
13. Last Date Other Name Was Used ถ้าหากมีชื่ออื่นที่เคยใช้ในข้อ 12. ให้ระบุวันที่ที่เลิกใช้
14. Primary Language ภาษาแรกที่ใช้
15. Education Program Code คนที่จบในเมืองไทย กรอกรหัส 99-499
16. Graduation Date วันเดือนปีที่จบการศึกษา
17. Do You Have CGFNS Certification? คุณมี CGFNS Certification หรือไม่
18. CGFNS Certification Number ถ้ามี ให้กรอก CGFNS Certification Number
19. Board of Registered Nursing in which you are seeking for licensure กรอกชื่อรัฐที่ต้องการสมัครไปทำงาน
20. Your Current Mailing Address กรอกที่อยู่ปัจจุบัน สำหรับคนที่อยู่เมืองไทย ไม่ต้องกรอกช่อง “State, Territory, Province”
21. a. U.S. zip code กรอกรหัสไปรษณีย์ สำหรับคนที่อยู่ในอเมริกา
22. b. Country code สำหรับคนที่อยู่เมืองไทย รหัสประเทศ คือ 565
23. c. Foreign Postal Code กรอกรหัสไปรษณีย์ของไทย Signature : เซ็นชื่อผู้สมัครเป็นภาษาอังกฤษ (อย่าเขียนเป็นตัวพิมพ์ใหญ่)
การลง ทะเบียนสอบ
เมื่อผ่านกระบวนตรวจสอบคุณสมบัติของผู้สมัครเรียบร้อยแล้ว ผู้สมัครจะได้รับใบ ATT จากทางBoard ซึ่งในเอกสารนี้จะมีหมายเลขประจำตัวผู้เข้าสอบ และวันหมดอายุ (ATT มีอายุ 60-365วันโดยเฉลี่ย 90 วัน ตามแต่ Nursing Board กำหนด) ซึ่งผู้สมัครจะต้องทำการลงทะเบียน เลือกวันและสถานที่สอบก่อนที่ ATT จะหมดอายุ วันหมดอายุไม่สามารถขอเลื่อนได้ไม่ว่ากรณีใด ๆ หากไม่สอบก่อนวันหมดอายุ ต้องลงทะเบียนและชำระเงินใหม่
• กรณีที่ต้องการสอบในอเมริกา ผู้สมัครสามารถลงทะเบียนได้ทางเวบไซต์หรือทางโทรศัพท์ หากต้องการสอบนอก ประเทศอเมริกา(และเกาะต่าง ๆ ในเขตอาณานิคม) ต้องลงทะเบียนสอบทางโทรศัพท์เท่านั้น (Asia Pacific Region – Call NCLEX Candidate Services in Kuala Lumpur, Malaysia, at (pay number) +603.8314.9605, Monday - Friday, 8:30 am to 6 pm, Universal Time) สำหรับผู้ที่ต้องการไปสอบที่ฮ่องกง ต้องเตรียม ATT และบัตรเครดิตให้พร้อมสำหรับจ่ายค่าธรรมเนียมเพิ่มอีก $150 เมื่อลงทะเบียนสอบเรียบร้อยแล้ว ก็จะได้รับอีเมล์ยืนยันจาก Pearson วัน สอบ
• ควรไปถึงสถานที่สอบก่อนเวลาอย่างน้อย 30 นาที • เตรียมATT และพาสปอร์ตไปให้พร้อม
• เจ้าหน้าที่จะถ่ายรูปผู้เข้าสอบ สแกนลายนิ้วมือและให้เซ็นชื่อ(ให้เหมือนในพาสปอร์ต)ก่อนเข้าห้องสอบ
• ไม่อนุญาตให้สวมหมวก ผ้าพันคอ (รวมทั้งเสื้อกันหนาวแบบผ่าหน้า) เข้าห้องสอบ
• ห้ามนำหนังสือ คู่มือสอบ กระดาษโน้ตเข้าห้องสอบ หากรู้สึกรบกวนจากเสียงคีย์บอร์ดสามารถขอ Earplug จากผู้คุมสอบ
• เฉพาะพาสปอร์ตเท่านั้นที่เอาเข้าห้องสอบได้ (กระเป๋าและเอกสารอื่น ๆ ต้องเก็บในล็อคเกอร์ รวมทั้งแบบฟอร์ม immigration ที่ถูกเย็บติดอยู่กับพาสปอร์ตก็ต้องแกะออกด้วย)
• ยกมือแจ้งผู้คุมสอบในกรณีต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการทำธุระส่วนตัว ซึ่งเวลาพักนี้จะคิดรวมไปกับเวลาที่ใช้ทำข้อสอบ (ควรพักเท่าที่จำเป็น) เมื่อจะกลับเข้าห้องสอบ ก็ต้องสแกนลายนิ้วมืออีกครั้ง
เพลงมาร์ชพยาบาลคำร้อง ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลย์สงคราม
อันความกรุณาปราณี จะมีใครบังคับก็หาไม่ หลั่งมาเองเหมือนฝนอันชื่นใจ จากฟากฟ้าสุลาลัยสู่แดนดิน ข้อความนี้องค์พระธีรราชเจ้า พระโปรดเกล้าประทานให้ใจถวิล ใช้คุณค่ากรุณาไว้อาจิณ ดั่งวารินจากฟ้าสู่สากล
(สร้อย) อันพวกเราเหล่านักเรียนพยาบาล ปณิธานอนุกูลเพิ่มพูนผล เรียนวิชากรุณาช่วยปวงชน ผู้เจ็บไข้ได้พ้นทรมาน แม้โรคร้ายจะแพร่พิษถึงปลิดชีพ จะยึดหลักดวงประทีปคือสงสาร แม้เหนื่อยยากตรากตรำใจสำราญ อุทิศงานเพื่อคนไข้ทั้งใจกาย
อยากฝากเพลงมาร์ชพยาบาลนี้ไว้ให้ทุกคนได้อ่าน ได้เข้าใจถึงความเป็นพยาบาล เนื้อหาของเพลงทำให้รู้ถึงจิตใจอันดีงามของผู้เป็นพยาบาลได้อย่างแท้จริง.........
สภาการพยาบาล
องค์กรวิชาชีพที่จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
พุทธศักราช 2528 ซึ่งได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 120 วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2528
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2528
พุทธศักราช 2528 ซึ่งได้ออกประกาศในราชกิจจานุเบกษา
ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอนที่ 120 วันที่ 5 กันยายน พ.ศ.2528
มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2528
ประวัติสภาการพยาบาล
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้จัดทำยกร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ฉบับแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2514 เพื่อที่จะผลักดันให้มีองค์กรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทย ซึ่งในปี พ.ศ.2518 ที่ประชุมของการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ได้มีมติให้เสนอกระทรวงสาธารณสุขให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะพุทธศักราช 2479 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาการพยาบาลและสาขาการผดุงครรภ์ เพื่อแสดงความหมายและขอบเขตของพยาบาลและผดุงครรภ์ให้ชัดเจนและสมบูรณ์ ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป และเสนอให้มีการจัดตั้งสภาการพยาบาล เพื่อทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพนี้
สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยในพระราชูปถัมภ์ของสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ได้จัดทำยกร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ฉบับแรกขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2514 เพื่อที่จะผลักดันให้มีองค์กรวิชาชีพที่ทำหน้าที่ควบคุมการประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ในประเทศไทย ซึ่งในปี พ.ศ.2518 ที่ประชุมของการประชุมพยาบาลแห่งชาติ ครั้งที่ 5 ได้มีมติให้เสนอกระทรวงสาธารณสุขให้ปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมการประกอบโรคศิลปะพุทธศักราช 2479 ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสาขาการพยาบาลและสาขาการผดุงครรภ์ เพื่อแสดงความหมายและขอบเขตของพยาบาลและผดุงครรภ์ให้ชัดเจนและสมบูรณ์ ตามบทบาทหน้าที่ที่ได้เปลี่ยนแปลงไป และเสนอให้มีการจัดตั้งสภาการพยาบาล เพื่อทำหน้าที่ควบคุมวิชาชีพนี้
พ.ศ.2521 สมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทยฯ ได้แต่งตั้งคณะกรรมการยกร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ขึ้นอีกคณะหนึ่งเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ต่อจนแล้วเสร็จ และนำเสนอเข้าสู่กระบวนการการออกพระราชบัญญัติตามขั้นตอนนิติบัญญัติ เมื่อวันที่ 20 สิงหาคม 2528 ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าให้ตราพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 ด้วยเหตุผลว่า “เนื่องจากในปัจจุบันการประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาการพยาบาล และการผดุงครรภ์อยู่ในความควบคุมตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะ ซึ่งมีคณะกรรมการควบคุมการประกอบโรคศิลปะทำหน้าที่ควบคุมทั้งการประกอบโรคศิลปะ แผนปัจจุบันในสาขาทันตกรรม เภสัชกรรม การพยาบาล การผดุงครรภ์ กายภาพบำบัด เทคนิคการแพทย์ และการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณใน สาขาเวชกรรม เภสัชกรรม การผดุงครรภ์ และในปัจจุบันมีผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์เป็นจำนวนมากสมควรแยกการควบคุมการประกอบโรคศิลปะโดยจัดตั้ง “สภาการพยาบาล” ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าว และผู้ประกอบวิชาชีพดังกล่าวได้รับเลือกตั้งโดยผู้ประกอบวิชาชีพด้วยกันเองเป็นกรรมการ เพื่อความคล่องตัวในการทำหน้าที่ควบคุมและส่งเสริมมาตรฐาน การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์โดยอิสระเหมาะสม และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น” พระราชบัญญัติดังกล่าวได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่ม 102 ตอน 120 วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2528 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 6 กันยายน พ.ศ.2528
ในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งสภาการพยาบาล สภาการพยาบาลได้รับความอนุเคราะห์จากกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้พื้นที่ของหน่วยงานของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วังเทวะเวสม์ เขตพระนคร กรุงเทพ โดยการใช้พื้นที่ของ กองการประกอบโรคศิลปะ กองการพยาบาล และกองงานวิทยาลัยพยาบาล เป็นสถานที่ทำการชั่วคราวของสำนักงานสภาการพยาบาล ตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2536 กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ายที่ทำการมายังจังหวัดนนทบุรี สภาการพยาบาลได้รับความอนุเคราะห์จากกระทรวงให้ใช้พื้นที่ อาคาร 6 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นที่ทำการของสภาการพยาบาลชั่วคราว และต่อมาได้จัดสรรที่ดินภายในบริเวณกระทรวงสำหรับการก่อสร้างสภาวิชาชีพ สภาการพยาบาลจึงได้ดำเนินการรณรงค์หาทุนสำหรับการก่อสร้างที่ทำการถาวรของสภาการพยาบาลขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานนามอาคารว่า “อาคารนครินทรศรี” ( นะ – ค – ริน – ทะ – ระ – ศรี ) และได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์อาคารนครินทรศรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2540
ในปี พ.ศ.2540 ได้มีการออกพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 เพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 75 ก เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่การกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาพยาบาลที่จะขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพนั้นจะต้องสอบความรู้ผ่านตามเกณฑ์ที่สภาการพยาบาลเป็นผู้กำหนด และการกำหนดอายุใบอนุญาตให้มีอายุ 5 ปี ทั้งพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตใหม่ รวมทั้งพยาบาลและผดุงครรภ์รุ่นเก่าที่เคยมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฯ อยู่เดิม ที่ไม่ได้กำหนดวันหมดอายุเอาไว้ จะมีอายุใบอนุญาตต่อไปอีก 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2545
ในระยะเริ่มแรกของการจัดตั้งสภาการพยาบาล สภาการพยาบาลได้รับความอนุเคราะห์จากกระทรวงสาธารณสุข ให้ใช้พื้นที่ของหน่วยงานของสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข วังเทวะเวสม์ เขตพระนคร กรุงเทพ โดยการใช้พื้นที่ของ กองการประกอบโรคศิลปะ กองการพยาบาล และกองงานวิทยาลัยพยาบาล เป็นสถานที่ทำการชั่วคราวของสำนักงานสภาการพยาบาล ตามลำดับ จนกระทั่งในปี พ.ศ.2536 กระทรวงสาธารณสุขได้ย้ายที่ทำการมายังจังหวัดนนทบุรี สภาการพยาบาลได้รับความอนุเคราะห์จากกระทรวงให้ใช้พื้นที่ อาคาร 6 ชั้น 7 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นที่ทำการของสภาการพยาบาลชั่วคราว และต่อมาได้จัดสรรที่ดินภายในบริเวณกระทรวงสำหรับการก่อสร้างสภาวิชาชีพ สภาการพยาบาลจึงได้ดำเนินการรณรงค์หาทุนสำหรับการก่อสร้างที่ทำการถาวรของสภาการพยาบาลขึ้น และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนีพระราชทานนามอาคารว่า “อาคารนครินทรศรี” ( นะ – ค – ริน – ทะ – ระ – ศรี ) และได้รับพระกรุณาจากสมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จทรงวางศิลาฤกษ์อาคารนครินทรศรี เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2540
ในปี พ.ศ.2540 ได้มีการออกพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2540 เพื่อปรับปรุงแก้ไขพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับกฤษฎีกา เล่ม 114 ตอนที่ 75 ก เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม พ.ศ. 2540 มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ที่สำคัญหลายประการ ได้แก่การกำหนดให้ผู้สำเร็จการศึกษาพยาบาลที่จะขอขึ้นทะเบียนเพื่อรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพนั้นจะต้องสอบความรู้ผ่านตามเกณฑ์ที่สภาการพยาบาลเป็นผู้กำหนด และการกำหนดอายุใบอนุญาตให้มีอายุ 5 ปี ทั้งพยาบาลและผดุงครรภ์ที่ขอขึ้นทะเบียนรับใบอนุญาตใหม่ รวมทั้งพยาบาลและผดุงครรภ์รุ่นเก่าที่เคยมีใบอนุญาตประกอบโรคศิลปะ หรือใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ ฯ อยู่เดิม ที่ไม่ได้กำหนดวันหมดอายุเอาไว้ จะมีอายุใบอนุญาตต่อไปอีก 5 ปี นับตั้งแต่วันที่ 24 ธันวาคม พ.ศ. 2545
คำศัพท์ ที่เกี่ยวกับอุปกรณ์ต่างๆ
และเครื่องมือแพทย์ที่ควรทราบ
การประเมินการบาดเจ็บอย่างรวดเร็ว หรือเรียกว่า Rapid Trauma Assessment (RTA)
ควรถามอาการผู้ป่วย ในขณะที่ประเมินการบาดเจ็บ และถ้ากลไกการบาดเจ็บอาจทำให้มีการบาดเจ็บต่อกระดูกสันหลัง หรือระดับความรู้สึกตัวผิดปกติควรยึดตรึงกระดูกสันหลังไปพร้อมกับการทำการประเมินแบบศรีาะจรดปลายเท้า (Head to toe) ต่อมาคือการพิจารณาว่าผู้ป่วยต้องการกู้ชีพขั้นสูง (ALS) ในขณะนั้นหรือทำการส่งต่ออย่างเร่งด่วน การประเมินซ้ำควรประเมินระดับความรู้สติ (AVPU) และการประเมินเบื้องต้น (Primary survey, ABC) ในขณะที่ทำการตรวจประเมินอย่างรวดเร็วนั้นสิ่งสำคัญคือการหาลักษณะของการบาดเจ็บ เช่น
- การผิดรูป Deformities (ดีฟอร์มิตี)
- รอยฟกช้ำ Contosion (คอนทูชั่น)
- แผลถลอก Abrasion (อะเบรชั่น)
- แผลจากการแทง Puncture/ Penetrations (พังเจอร์/ เพนเนเตชั่น)
- แผลไหม้ Burns (เบริน)
- ตำแหน่งเจ็บ Tenderness (เทนเดอร์เนส)
- แผลฉีกขาด Laceration (ลาซีเรชั่น)
- อาการบวม Swelling (สวีลลิ่ง)
- อักษรช่วยจำ (DCAP/BTLS) (ดี-แคป/บี-ที-แอล-เอส)
- Oropharyngeal airway (mouth gag), (airway)= อุปกรณ์เปิดทางเดินหายใจ
- Suction (ซักชั่น) = เครื่องดูดเสมหะ
- Stethoscope (สเต็ทโตสโคป) = หูฟัง
- Blood pressure (BP.) (บลัดเพรสเชอร์)= ความดันโลหิต
- Splint (สปลิ๊น) = การดาม
- Stop bleed (สต็อปบลีด) = ห้ามเลือด
- Gluco-meter (กลูโคมิเตอร์)=เครื่องวัดค่าน้ำตาลในกระแสเลือด
- Elastic Bandage (EB.) (อิลาสติคแบนเดก)= ผ้าพันชนิดยืด
- Defibrillator (ดีฟิบบริลเลเตอร์)= เครื่องกระตุกหัวใจ
- Pulse Oxymeter = เครื่องวัดค่าความอิ่มตัวของ O2 ในกระแสเลือด
- Treatment (ทรีทเม้น)= การรักษา
- Diagnosis (ไดแอ็กโนซีส)= การวินิจฉัย
- Vital sign (ไวทอลไซน์) = สัญญาณชีพ
- Temperature (เทมเพอเรเจอร์)= อุณหภูมิ
- Pulse (พัลส์)= ชีพจร
- Respiration (เรสไปเรชั่น)= การหายใจ
- Blood pressure (บลัดเพรสเชอร์) = ความดันโลหิต
- Observe (ออบเสริฟ)= สังเกตอาการ
- Tepid sponge (เทปปิดสปั้น)= เช็ดตัวลดไข้
- Transfer (ทรานสเฟอร์) = การย้ายผู้ป่วย
- Discharge (ดีสชาร์จ)= การจำหน่ายผู้ป่วย
- Sphygmomanometer (สฟิกโมมาโนมิเตอร์) = เครื่องวัดความดันโลหิต
- Needle (นีดเดิล)= เข็ม
- Syringe (ไซริง)= กระบอกฉีดยา
- Intravenous Fluid (IV.Fluid) = สารน้ำ (น้ำเกลือ)
- Medicut (เม็ดดิขัด)= เข็มแทงน้ำเกลือ
- I.V. set = ชุดให้สารน้ำ
- Extension (เอ็กซ์เทรนชั่น)= สายต่อชุดให้น้ำเกลือ
- 3-way (ทรีเวย์) = ข้อต่อ 3 ทาง
- Tourniguet (ทูนิเก้)= สายยางรัดแขน
- Gauze (ก็อซ) = ผ้าก๊อซ
- Dressing (เดรสซิ่ง)= การทำแผล
- Top gause (ท็อปก็อซ) = ผ้าก๊อซหุ้มสำลี (ใช้พันแผลขนาดใหญ่)
- Micropore (ไมโครปอร์) = พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดกระดาษ
- Transpore (ทรานสปอร์) = พลาสเตอร์ปิดแผลชนิดพลาสติก
- Ambubag (แอมบูแบ็ก) = ลูกยางบีบช่วยการหายใจ
- Abnormal (แอบนอร์มอล)= ผิดปกติ
- Abrotion (อะบรอชั่น)= การแท้ง
- Artary (อาร์เทอร์รีย์)= เส้นเลือดแดง
- Vein (เวน)= เส้นเลือดดำ
- B.P. drop (บี.พี.ดร็อป) = ความดันเลือดต่ำ
- Brain (เบรน) = สมอง
- Chills (ชิลส์) = หนาวสั่นจากไข้สูง
- Coma (โคม่า) = ภาวะหมดสติ ไม่รู้สึกตัว
- Complication (คอมพลิเคชั่น)= โรคแทรกซ้อน
- Cyanosis (ไซยาโนซีส) = อาการเขียวจากการขาดออกซิเจน
- Secretion (ซิครีชั่น)= สารคัดหลั่ง
- Edema (อิดีม่า)= บวม
- Electrodiogram (EKG)= เครื่องวัดคลื่นไฟฟ้าหัวใจ
- Expire (เอ็กซ์ปาย)= หมดอายุ
- Infection (อินเฟคชั่น)= การติดเชื้อ
- Jerk (เจิ๊ก)= เคาะเข่า
- Nausea (นอร์เซีย) = คลื่นไส
- Nipple (นิปเปิล)= หัวนม
- Pain (เพน)= ความปวด
- Pale (เพล)= ซีด
- Paralysis (Paralite) (พาราไลซีส) = อัมพาต
- Rupture (รัปเจอร์)= การแตก
- Sick = ป่วย
- Side effect (ไซด์เอฟเฟค)= ผลข้างเคียง
- Sputum (สปูตุ้ม)= เสมหะ
- Stat (สแตท) = ทันที
- Stomach (สโตมัส)= กระเพาะอาหาร
- Stress (สเตรส)= เครียด
- Therapy (เทอราปี้)= การรักษา
- Unconscious (อันคอนเชียส)= ไม่รู้สึกตัว
- Urine (ยูรีน) = ปัสสาวะ
- Urine analysis (ยูรีนอะนาไลซีส)= การเก็บปัสสาวะส่งตรวจ
- Vomit = อาเจียน
- Wound (วูน) = แผล
- Weight = น้ำหนัก
- Weak (วี๊ค)= อ่อนเพลีย
- Surgery (เซอ-เจอ-รี่) = ศัลยกรรม
- Medication (เหม็ด-ดิ-เด-ชั่น)= อายุรกรรม
- Pediatric (พี-เดรีย-ตริก) = กุมารเวชกรรม
- Obstetric (อ๊อบ-สเต-ตริก)= สูติกรรม
- Gynecology (ไก-เนค-โค-โล-จี้)= นรีเวชกรรม
- Orthopedic (ออ-โถ-ปี-ดิก)= กระดูกและข้อ
- Hemodialysis (ฮี-โม-ได-อะ-ไล-ซิส)= ห้องล้างไต
- Physical therapy (ฟิส-สิ-เคิล-เทอ-รา-ปี่)= แผนกกายภาพบำบัด
- Phamacy (ฟา-มา-ซี) = ห้องจ่ายยา
- Intensive care unit (I.C.U) = แผนกผู้ป่วยหนัก
- Operating room (O.R) = ห้องผ่าตัด
PG88 เว็บตรงสล็อตออนไลน์ PG SLOT สล็อตออนไลน์ได้กลายเป็นทางเลือกที่ยิ่งใหญ่และน่าสนใจสำหรับนักพนันในยุคปัจจุบัน PG การเล่นสล็อตผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นสะดวกสบายและเข้าถึงได้ทุกที่ทุกเวลา
ตอบลบ